เคล็ดลับความอัจฉริยะของไอน์สไตน์
เปิดเผยจากจดหมายถึงลูกชาย
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยศาสตร์ผู้ที่ถูกยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลก เขาเป็นผู้ค้นพบทฤษฎี สัมพัทธภาพ (General theory of relativity) และเป็นเจ้าของสมการที่มีชื่อเสียงที่สุดอย่าง E=mc2 ในปี ค.ศ. 1921 ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ จากคุณประโยชน์ที่เขาได้สร้างให้กับโลกวิทยาศาสตร์
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์เริ่มเผยความเป็นอัจฉริยะในวัย 16 ปี แม้เป็นเพียงวัยรุ่น ไอน์สไตน์ก็ได้สร้างคุณประโยชน์แด่วงการฟิสิกส์ จากการเขียนเรียงความสั้นเรื่อง “On the Investigation of the State of the Ether in a Magnetic Field” ซึ่งเป็นจุดริเริ่มของความเก่งกาจของเขาในอนาคต แต่เพราะเหตุใดไอน์สไตน์ถึงเป็นอัจฉริยะ? ความเป็นอัจฉริยะของไอน์สไตน์มีมาตั้งแต่เกิดหรือไม่? คำตอบนี้อาจอยู่ในจดหมายที่เขาเขียนถึงลูกชายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ในปี ค.ศ. 1915 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้เขียนจดหมายจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ถึงลูกชายของเขา ฮานส์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งขณะนั้นพักอาศัยอยู่ที่เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จดหมายของไอน์สไตน์สื่อถึงความคิดถึงต่อลูกชายของเขา แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่เขาเขียนว่า1
“พ่อดีใจมากที่ลูกมีความสุขในการเล่นเปียโน พ่อเชื่อว่าการเล่นเปียโนและการช่างไม้เป็นเรื่องที่ดีที่สุดของลูกในวัยนี้ ดีกว่าการเรียนในโรงเรียนเสียอีก เพราะสิ่งเหล่านี้เหมาะสมกับลูกจริงๆ จงเล่นเปียโนที่ลูกชอบไปเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าคุณครูจะไม่ได้สั่งให้ลูกทำก็ตาม นี่เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุด ทำสิ่งที่ลูกชื่นชอบมากๆจนลืมไปเลยว่าเวลาผ่านไปนานแค่ไหน ในบางครั้ง พ่องมอยู่กับการทำงาน จนลืมไปเลยว่าต้องทานข้าวเที่ยง”
ตรงข้ามกับที่หลายคนเชื่อกัน ไอน์สไตน์ในวัยแรกเกิดนั้น ไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเด็กอัจฉริยะ เขามีปัญหากับการสื่อสาร และเรียนรู้ได้ช้ากว่าเด็กคนอื่นๆ จนคุณครูในวัยเด็กของเขาถึงกับเอ่ยว่าเขาคง “ไม่สามารถทำอะไรได้ในชีวิตนี้” แต่ไอน์สไตน์พบความสุขของตนเล่นกับโจทย์ปัญหา เขาชอบแก้ปัญหาเชาว์ ชอบก่อสร้างอะไรยากๆเช่น สร้างบ้านด้วยกองไพ่ และที่สำคัญที่สุดคือ เขาชอบการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ เขาแก้โจทย์คณิตศาสตร์เป็นงานอดิเรก ตั้งแต่เล็ก เขาแก้โจทย์ไปเรื่อยๆจนความรู้เขาก้าวข้ามเด็กนักเรียนคนอื่นๆ ในช่วงปิดเทอม คนก็นำหนังสือคณิตศาสตร์สำหรับชั้นสูงกว่ามาเรียนด้วยตัวเอง เรียนด้วยความสนุก จนสามารถหาข้อพิสูจน์ของทฤษฎีต่างๆได้ แถมยังคิดค้นทฤษฎีของตัวเองด้วย
นี่แหละ เคล็ดลับความฉลาดของไอน์สไตน์ “ทำสิ่งที่ตัวเองรัก” และทำไปเรื่อยๆเพื่อความสนุก โดยไม่ได้หวังผลอะไร จนท้ายที่สุดความสนุกนั้นก็เปลี่ยนมาเป็นอัจฉริยภาพ
ใครอยากเก่งเหมือนไอน์สไตน์ รีบค้นหาสิ่งที่ตัวเองรักให้เจอ หมั่นฝึกฝนซ้ำแล้วซ้ำเล่า และทำไปเรื่อยๆ ถึงแม้เราไม่อาจเปลี่ยนโลกเหมือนที่ไอน์สไตน์ทำได้ แต่เราอาจปลี่ยนโลกของตัวเองและคนรอบข้างได้เสมอ
ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลจาก : https://www.skilllane.com/blog/einstein-secret-to-learning